วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ใบงานที่ 8

1.การแบ่งพาร์ติชั่น (Partition)
การแบ่งพาร์ติชั่น หมายถึงการแบ่งพื้นที่ของฮาร์ดดิส (HardDisk) ก็เป็นไดร์ฟ (Drive) ต่าง ๆ ตั้งแต่ C ไปได้เรื่อย ๆ ตามจำนวนเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ที่มีอยู่เพื่อจัดสรรพื้นที่เก็บข้อมูลให้ได้คุ้มค่าและมากที่สุ



รูปแบบการแบ่ง
หลังจากที่ใช้คำสั่ง FDISKแล้ว จะมีรายการให้เลือก 4 รายการคือ
1. Create Partition การสร้าง Partition
2. Active Partition ทำให้ฮาร์ดดิสก์ Boot ด้วยตัวเองได้)
3. Delete Partition การลบ Partition
4. Display Partition การตรวจสอบจำนวนไดร์ฟที่สร้างแล้ว
หมายเหตุ
ในการต่อฮาร์ดดิสก์มากกว่า 2 ตัวขึ้นไปเมื่อใช้คำสั่ง FDISK จะมีรายการที่ 5 เพิ่มมาอีก โดยรายการที่ 5 นี้ให้ทำการเลือกการแบ่งว่าจะแบ่งพาร์ติชั่นของฮาร์ดดิสก์ตัวไหน



1.กระบวนการ format ก็คือกระบวนการจัดรูปแบบของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ เช่น แผ่นดิสก์เก็ต ฮาร์ดดิสก์ ให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับระบบฮาร์ดแวร์ที่ใช้ (หมายถึง ชนิด ขนาด ความจุ ของ Drive ที่เป็นตัวอ่าน-เขียน) เพื่อให้สื่อเหล่านั้นสามารถ อ่าน-เขียนข้อมูลได้ถูกต้อง หรืออีกนัยหนึ่ง คือ กระบวนการในการจัด เตรียมพื้นที่ในการเก็บข้อมูลบนแผ่นดิสก์เก็ต หรือ ฮาร์ดดิสก์ นั่นเอง

ขั้นตอนการ Format สามารถทำได้ 2 วิธี
   1 แบบ Command Prompt มีขั้นตอนดังนี้
         - คลิกที่ Start >> run >> พิมพ์ cmd 
         - พิมพ์ format และชื่อ drive เช่น format d: 
   2 แบบ GUI  มีขั้นตอนดังนี้
         - เปิด My Computer
         - คลิกที่ Drive ที่ต้องการ Format
         - คลิกขวาแล้วเลือก Format
         - เลือกประเภทของ File System ที่ต้องการว่าจะใช้ Fat, Fat32 หรือ NTFS
         - คลิกที่ Start เพื่อเริ่ม Format

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ใบงานที่ 7


1.1           เกี่ยวกับ Hardware
วิธีการปรับ Refresh rate แล้วภาพเกิดล้ม มีวิธีแก้ง่ายๆ

   ทริก & ทิป ตัวนี้ ถือได้ว่า เป็น ทริก & ทิป สำหรับคนมือซน สักหน่อย ก็เพราะว่าการปรับ Refresh Rate บางทีนั้น ปรับซะจนสูงเกินไป จอของเรานั้น ไม่สามารถรับได้ มันก็จะเกิดอาการ ภาพล้ม!! ก็คือ ตอนนั้นเราจะมองอะไรไม่เห็นเลยน่ะสิครับ เอาล่ะ แล้วที่นี่เราจะปรับมันกลับยังไงดีล่ะเนี่ย ไม่เป็นไร เราก็มีวิธีแก้ ง่ายๆ นิดเดียว
   --> ตรวจดูว่า จอของเรานั้น รองรับความละเอียดได้สูงสุดที่เท่าใด สังเกตได้จากข้างกล่องจะเขียนเอาไว้เมื่อรู้แล้วก็ทำขั้นตอนต่อไป
   --> ขั้นต่อมา กดปุ่ม Restart เครื่องใหม่ แล้วที่นี้ พอมันเริ่ม Restart เครื่อง
   --> พอมันขึ้นคำว่า Starting Windows ก็ให้เรากด F8 จะมี Menu ขึ้นมาแล้วเลือกเข้าที่ Safe Mode
   --> เอาล่ะ ที่นี่พอเครื่องเราเข้าที่ Safe Mode แล้ว เราก็จะทำการ เซ็ทค่า Refresh rate มันกลับล่ะ โดยการที่ ไปปรับใน Displays Properties ภายใน Control Panel แล้ว
        ปรับ Refresh Rate ให้เป็น Adapter Default ตอบ OK 2 ครั้ง แล้ว Restart เครื่องใหม่
   --> เมื่อเข้า Windows ใหม่แล้วก็ค่อยเข้าไปปรับ Refresh rate อีกครั้ง

ถ้าไม่สามารถปรับความละเอียด ของหน้าจอ หรือ ปรับได้แค่ 640x480,256 colors

   ถ้าอยู่มาวันหนึ่งคอมพิวเตอร์ของคุณ เกิดอาการอย่างที่ว่าจริงๆล่ะก็ ไม่ต้องตกใจครับ ลองตั้งสติให้ดีๆ แล้ว ก่อนอื่นก็ลองดูว่า การ์ดจอของคุณนั้น แสดงความละเอียดได้สูงสุดท่าใด โดยอาจจะดูจากคู่มือของการ์ดจอ นั้นก็ได้ แล้วก็ลองดูว่า ได้ติดตั้ง Driver ของการ์ดจอไปแล้วหรือยัง โดยมีวิธีดู ดังนี้

คลิ๊กขวาที่ My Computer > เลือก Properties > เลือกแท็ป Device Manager

   แล้วเลือกดูที่ Display Adapter ว่า ชื่อการ์ดจอ และรุ่น ที่แสดงอยู่นั้น ตรงกับของเราจริงๆ หรือป่าว ถ้าไม่ตรง ก็ต้องทำการติดตั้ง Driver โดยการ เลือกคลิ๊กขวาที่ชื่อของการ์ดจอตัวนั้น แล้วเลือก Properties แล้วคลิ๊ก แทป Driver จากนั้น ก็ คลิ๊กปุ่ม Update Driver แล้วจะมีหน้าต่าง Update Device Driver Wizard ขึ้นมา เพื่อให้เราลง Driver ใหม่นั้นเอง ที่นี้พอลง Driver เสร็จแล้ว ก็ลอง Restart เครื่องใหม่

เปิดเครื่องไปได้สัก 2-3 นาที จอถาพก็เกิดอาการสั่น แล้วก็หดลงประมาณ 1 นิ้ว ??

   ก็ในเมื่อไม่ได้ไปทำอะไรมันได้ ความละเอียดของภาพ (Resolution) ก็ไม่ได้ไปปรับ พอลองปรับปุ่มที่หน้าจอให้มันขยายเท่าเดิม ก็เหมือนภาพมันถูกดึง เข้า ดึงออกจาก เครื่องคอมของคุณ แต่อาจเกิดจาก จอมอนิเตอร์พอใช้นานๆไปแล้ว อาจเกิดการเสื่อมของหลอดภาพ ทำให้บางครั้ง ภาพที่เห็นอาจวูบหายไปได้บ้าง หรือไม่ก็อาจจะเกิดจาก ตัวจ่ายไฟ ภายในจอมอนิเตอร์ ( ศัพท์ช่างเค้าเรียกว่า ไฟแบ๊ค ) เองนั้นแหละครับจ่ายไฟไม่พอ จึงอาจจะเกิดปัญหานี้ขึ้นมา แต่ปัญหาในลักษณะนี้ก็คือคงจะต้องส่ง ไปให้ที่ร้านเค้าซ่อมแล้วล่ะครับ เพราะคุณคงจะมานั่งทำเองมันก็คงไม่ได้ ส่วนเรื่องราคานั้นก็คงจะต้องไปคุยกันอีกที แต่ถ้า หลอดภาพ หรือ ไฟแบ๊ค เสียจริงๆ ส่วนใหญ่เค้าก็จะไม่ซ่อมกันแล้วครับ เพราะไฟแบ๊คและหลอดภาพ นี้มีราคาสูงจริงๆ ทำให้ค่าซ่อมนั้นแพงมาก ก็อาจจะมีวิธีแก้คือ อาจจะไปหาซื้อ จอมอนิเตอร์มือสองยังจะคุ้มกว่าค่าซ่อมอีกมั้งครับ ...

อยู่ดีๆ ก็ไม่มีภาพที่หน้าจอ ?

วิธีแก้ไข
   1. ต้องดูก่อนเลยว่า ดวงไฟ LED ดวงเล็กๆ ที่อยู่ข้างหน้านั้น ติดรึเปล่า ถ้าไปไม่ติด อาจจะเกิดว่าลืมเสียบปลั๊กรึเปล่า
   2. ดูว่ามีมือดีที่ไหนไปปรับ ความสว่าง ของหน้าจอรึเปล่า ก็ลองปรับ Contrast และ Brightness จาก Menu OSD ของจอดู
   3. จากนั้นก็ดูว่าสายเคเบิ้ล ที่เสียบระหว่างจอ กับ เครื่อง หลุด,หลวม หรือไม่ ให้เสียบและ หมุ่นตัวยึดเสียใหม่
   4. ถ้าคุณมี คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ หรือจอที่ใช้ได้อย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ลองเอาไปเสียบกับเครื่องที่เสียดูว่าสาเหตุนั้นเกิดจาก จอ ของเราหรือเกิดจาก
       คอมพิวเตอร์กันแน่
   5. ถ้าสาเหตุเกิดจาก จอ ของเราให้เราดู Warranty จอว่าหมดประกันหรือยัง ถ้ายังไม่หมดประกันก็นำไปเคลม กับร้านที่ซื้อมา
   6. ถ้านำจอที่ใช้ได้มาต่อแล้วยังใช้การไม่ได้อีก ก็อาจจะเกิดจาก การ์ดแสดงผล (Display Card) ก็ให้ถอดฝาครอบเครื่องออกมา
       แล้วก็ดึงการ์ดแสดงผลออกมาทำความสะอาด ตรงที่เป็นหน้าสัมผัส ( แผงทองเหลือง ) วิธีทำความสะอาดก็อาจจะใช้ ยางลบดินสอก็ได้ โดยลบเบาๆ ที่หน้าสัมผัสนั้น
       แล้วลองเสีบกลับลงไปที่ตำแหน่งเดิม และ ลองเปิดเครื่องดู
   7. แต่ที่แน่ๆ ที่ตรวจสอบมาทั้งหมด ต้องแน่ใจว่า จอ ของคุณนั้นใช้งานได้จริงๆ ไม่เสีย ไม่พัง
   8. ถ้าทำตามขั้นตอน ที่กล่าวมาแล้ว ยังเกิดอาการเดิม เกือบจะ 100% การ์ดแสดงผลอาจจะเสียก็ได้ หรือไม่ก็ไปยืมการ์ดจอของเพื่อน มาลองเสียบ แทนดูก็ได้

ค่าความละเอียดของเม็ดสี (Color Bit Depth)

   ค่าความละเอียดของเม็ดสีสำหรับภาพวิดีโอ หรือภาพนิ่งนั้น คือจำนวนของสีที่ใช้ในข้อมูลภาพวิดีโอ หรือภาพนิ่ง โดยข้อมูลภาพวิดีโอแต่ละแบบ จะมีค่าความละเอียดของเม็ดสีของตนเองอยู่แล้ว ส่วนภาพนิ่ง มักจะมีตัวเลือกให้ สำหรับค่าความละเอียดเม็ดสี โดยช่วงค่าความลึกได้แก่:

http://www.dcomputer.com/proinfo/tricktip/image/bullet.gif8-bit: จะได้ภาพขาวดำ หรือภาพเฉดสีเดี่ยว (Monochrome) หรือ Alpha Channel หรือ Luminance หรือ Index Color
http://www.dcomputer.com/proinfo/tricktip/image/bullet.gif16-bit: เป็นค่าความละเอียดที่ให้คุณภาพสี ต่ำที่สุด คือเป็นภาพ 5-bit RGB
http://www.dcomputer.com/proinfo/tricktip/image/bullet.gif24-bit: เป็นค่ามาตรฐานสำหรับภาพวิดีโอ เป็น 8-bit RBG
http://www.dcomputer.com/proinfo/tricktip/image/bullet.gif32-bit: สำหรับภาพ 32-bit นี้ อาจจะประกอบด้วย 8-bit RGB พร้อม 8-bit Alpha Channel หรืออาจจะเป็น 10-bit RBG อย่างในไฟล์ .cin และ .sgi
http://www.dcomputer.com/proinfo/tricktip/image/bullet.gif48-bit: เป็นภาพ 16-bit RGB
http://www.dcomputer.com/proinfo/tricktip/image/bullet.gif64-bit: ให้คุณภาพสีสุงที่สุด โดยเป็นภาพ 21-bit RGB

เทคนิคในการทำให้ภาพที่จับมาจากหน้าจอวินโดวส์มีความคมชัด

   หากในเครื่องคุณไม่มีโปรแกรมจับภาพหน้าจอ แต่คุณต้องการจับภาพหน้าจอมาใช้ ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ก็ให้คุณสามารถกดปุ่ม Print Screen (Print Screen) เพื่อจับภาพบนหน้าจอของวินโดวส์มาแล้วสั่ง Paste ลงในโปรแกรมต่างๆ ของคุณได้ โดยการกดปุ่ม Print Screen เป็นการจับภาพทั้งจอภาพ และการกดปุ่ม Alt พร้อมกับ Print Screen เป็นการจับภาพเฉพาะหน้าต่างวินโดวส์ที่เปิดใช้งานอยู่ อย่างไรก็ตาม ในบางโปรแกรมคุณอาจพบว่าเวลาที่สั่ง Paste ภาพที่จับไว้เข้ามาใช้กลับได้ภาพไม่ค่อยคมชัด เช่น จับภาพหน้าจอของวินโดวส์มาใส่โปรแกรม Page Maker ภาพที่ได้จากการ Paste จะไม่ค่อยมีความละเอียดมากนัก ซึ่งคุณสามารถแก้ไขได้ดังนี้ :
   --> หลังจากจับภาพหน้าจอเรียบร้อยแล้วให้เปิดโปรแกรม Paint ของวินโดวส์ (Start --> Programs --> Accessories --> Paint)
   --> เลือกคำสั่ง Edit --> Paste รูปจากหน่วยความจำมาเข้าในโปรแกรม Paint
   --> เลือกคำสั่ง Edit --> Select All
   --> เลือกคำสั่ง Edit --> Copy
   --> หลังจากนี้ก็ให้คุณไปเปิดโปรแกรมที่คุณต้องการ Paste ภาพใส่เข้าไปได้ โดยคุณจะพบว่าภาพที่ได้จะมีความคมชัดมากขึ้น

1.2 เกี่ยวกับ Software
การแก้ปัญหาสามารถทำได้โดยลบRegisterKey ที่เสียหาย หรือมีรูปแบบไม่ถูกต้องออกไป เพื่อให้ XP ตรวจจับอุปกรณ์USBของเราได้ใหม่อีกครั้งตามปกติ ขั้นตอนการลบRegisterKeyตัวปัญหามีดังนี้


1. คลิก Start เปิดไดอะล็อกบ็อกซ์ Run (กดปุ่ม Windows + R) พิมพ์คำสั่ง regedit คลิ้กปุ่ม OK
2. ในโปรแกรม Registry Editor คลิ้กเข้าไปที่


HKEY_LOCAL_MACHINE \SYSTEM\ CurrentControlSet \Control\ Class\ {4D36E980-E325-11CE-BFC1-08002BE10318}.
[USB_Device_Stop_Working1.jpg]

3. ลบคีย์ที่มีชื่อว่า UpperFilters หรือ LowerFilters
4. จากนั้นให้คลิ้กเข้าไปที่

HKEY_LOCAL_MACHINE \SYSTEM\ CurrentControlSet \Control\ Class\ {4D36E967-E325-11CE-BFC1-08002BE10318}.
[USB_Device_Stop_Working2.jpg]

5. ทำเหมือนข้อ 3 คือลบคีย์ UpperFilters หรือ LowerFilters
6. รีบูต(Restart)เครื่องคอมพิวเตอร์

ข้อควรทราบก็คือ เมื่อคุณลบรีจิสทรีคีย์ที่มีปัญหานี้ออกไป แอพพลิเคชันเขียนแผ่น CD/DVD ที่ใช้การเปลี่ยนค่าของคีย์ข้างต้น (UpperFIlters, LowerFilters) จะไม่สามารถทำงานได้ และคุณอาจจะต้องติดตั้งโปรแกรมพวกนี้เข้าไปใหม่

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 5

เครื่องซีดีรอมมีส่วนประกอบภายในที่ทำหน้าที่ดังนี้
1. ตัวกำเนิดเลเซอร์ เป็นแหล่งกำเนิดความเข้มต่ำและส่งไปยังกระจกสะท้อนเลเซอร์
2. เซอร์โวมอเตอร์ ทำหน้าที่ปรับให้เลเซอร์ตกลงแทร็กที่ต้องการด้วยการรับคำสั่งจากไมโครโปรเซสเซอร์ และมีหน้าที่ปรับมุมของกระจกสะท้อนเลเซอร์ด้วย
3. เมื่อเลเซอร์กระทบดิสก์ จะมีการหักเหไปยังเลนส์ที่อยู่ด้านใต้ของดิสก์จากนั้นสะท้อนไปยังเครื่องแยกลำแสง
4. เครื่องแยกแสงจะส่งเลเซอร์ไปยังอีกเลนส์หนึ่ง
5. เลนส์อันสุดท้ายจะส่งเลเซอร์ไปยังเครื่องตรวจจับแสงที่เปลี่ยนคลื่นแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า
6. ไมโครโปรเซสเซอร์จะแผลงสัญญาณที่ได้รับและส่งเป็นข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
ประเภทของซีดีรอม
เมื่อดูจากสภาพภายนอกจะเห็นว่าซีดีรอมแต่ละแผ่นมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ แต่แท้ที่จริงนั้นซีดีรอมแบ่งออกได้หลายประเภท การแยกประเภทของซีดีรอมนั้น แยกตามข้อกำหนดของหนังสือที่ระบุเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตสื่อเก็บข้อมูลซีดีรอม เช่น Yellow CD หมายถึง ซีดีรอมที่ถูกผลิตตามข้อหนังสือหน้าปกสีเหลือง เป็นต้น
ปัจจุบันแบ่งประเภทของซีดีรอมออกได้หลายประเภท ตามสีของหน้าปกหนังสือที่กำหนดลักษณะของซีดีรอม ดังต่อไปนี้
- Yellow CD หรือ DATA Storage CD
- Red CD / Audio CD
- CD-ROM XA หรือ Multi-session CD หรือ ISO 9660
- Mixed Mode CD
Yellow CD หรือเรียกว่า DATA Storage CD หรือ CD-ROM
เป็นที่รู้จักกันในชื่อของซีดีรอมประเภทที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล (Data CD) มักพิมพ์คำว่า Data Storage บนแผ่น แผ่นซีดีรอมประเภทนี้ถูกนำมาเก็บข้อมูลที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ ข้อมูลจะถูกบันทึกเป็นแนวเกลียว (Spiral) จากวงรอบ (Track) ส่วนในของแผ่นไปยังวงรอบส่วนนอก ข้อมูลจะถูกเขียนครั้งละหนึ่งบิตตามลำดับ. โครงสร้างของการบันทึกข้อมูลทางตรรกะ (Logical Format) ข้อมูลจะถูกบันทึกในลักษณะของแผนภูมิต้นไม้ (Tree) และไดเรคทอรี่ (Directory) และไฟล์ ซึ่งคอมพิวเตอร์เข้าใจ
การใช้งาน DATA-CD
- ใช้เก็บข้อมูล
- สำหรับสำรองข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ หรือจากสื่อบันทึกข้อมูลชนิดอื่นๆ
- สำหรับทดสอบบันทึกข้อมูลก่อนที่จะส่งแผ่นซีดีไปเป็นมาสเตอร์
- สำหรับการบันทึกข้อมูลเพื่อใช้งานภายในสำนักงาน

Red CD / AudiO CD
รู้จักกันแพร่หลายในชื่อของ Audio CD หรือคอมแพ็คดิสก์ คือแผ่นซีดีรอมที่มีไว้สำหรับฟังเพลง ซึ่งประกอบด้วย Track ของ Digital Audio ที่ถูกบันทึกลงไปใน Compact Disc - Digital Audio (CD-DA) รูปแบบการเก็บข้อมูลเพลงเป็นรูปแบบสากล คือนำไปใช้ได้ทั่วโลกและใช้ได้กับหลายๆ สื่อ CD-DA แผ่นหนึ่งมี Track ได้ 99 Track

CD-ROM XA หรือ Multi-session CD
Multi-session CD คือซีดีรอมที่ถูกผลิตตามมาตรฐาน ISO 9660 ข้อมูลในซีดีรอมจะมีมากกว่า 1 session หนึ่ง session คือการบันทึกข้อมูลต่อเนื่องกันหนึ่งส่วน เมื่อปิด Session ดังกล่าว และเปิด Session ใหม่ ข้อมูลก็จะถูกบันทึกโดยไม่ต่อเนื่องกับ session เดิม ทำให้ใช้ประโยชน์จากซีดีรอมแบบ Multi-session ในการ Update ข้อมูลหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม
ปกติซีดีรอม 1 แผ่น มีได้ 48 session อย่างไรก็ตาม Multi - Session CD ใช้งานได้ก็ต่อเมื่อใช้กับไดรฟ์ที่สามารถอ่านข้อมูลแบบ Multi - Session ได้
ประโยชน์จากการใช้ซีดีรอมแบบ Multi - Session
- การสำรองข้อมูลที่มีขนาดใหญ่
- สำหรับใช้ในการทำข้อมูลที่ต้องการแจกจ่ายเมื่อมีการอัปเดทข้อมูล

ซีดีรอมที่ออกแบบผสมกันระหว่าง Data และ Audio
ปกติ CD-DA จะถูกบันทึกข้อมูลที่เป็นส่วนของ audio และใช้งานกับเครื่องเสียงภายในบ้านหรือเครื่องเสียงติดรถยนต์รวมทั้งคอมพิวเตอร์ได้ แผ่นซีดีแบบ Mixed Mode นั้นถูกผลิตให้มีทั้ง DATA และ Audio ในแผ่นเดียวกัน เมื่อต้องการรวมเอาข้อความ ภาพกราฟิกและเสียงเข้าไปในซีดีรอม ข้อมูลดังกล่าวจะถูกบันทึกในส่วนของ Data Track และข้อมูล Audio จะถูกบันทึกไว้ในส่วนของ CD-DA ซึ่งในกรณีนี้ทำโดย 2 วิธี
- Mixed Mode
- CD Extra
Mixed Mode
Classic Mixed Mode หรือ Mixed Mode ยุคเบื้องต้นนั้นคือแผ่นซีดีรอมที่มีข้อมูลใน Track แรก ตามด้วย Audio ใน Track ต่อไปอีกหนึ่ง Track หรือหลายๆ Track โดยบรรจุใน session เดียว Mixed-Mode CD ใช้งานได้ดีกับคอมพิวเตอร์
อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาบางประการเกี่ยวกับ Classic Mixed Mode เนื่องจากหากบังเอิญว่าข้อมูลใน Track แรกนั้นนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ แต่กรณีนี้บรรดาเครื่องเล่นซีดีของชุดเครื่องเสียงจะไม่สามารถใช้งานได้ ตรงกันข้ามอาจเกิดความเสียหายได้ เพราะใน Track ของข้อมูลซึ่งเป็น Track แรกนั้นคำนวณไม่ได้ว่าปริมาณสัญญาณที่ถูกส่งออกมานั้น อาจจะมากขนาดที่ทำให้ลำโพงเสียหายได้ ถึงแม้ว่าเครื่องเล่นซีดีบางตัวจะสามารถตรวจจับ CD-track และอ่านข้ามไป แต่โดยปกติเครื่องเล่นซีดีจะไม่มีฟังก์ชั่นนี้ บรรดาผู้ผลิตเครื่องเล่นซีดีที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการใช้งานซีดีรอมประเภทนี้ต่างก็กลัวปัญหา และเริ่มมองหาวิธีการใหม่ๆ นั้นก็คือ CD Extra
CD Extra
CD Extra หรือที่รู้จักกันในชื่อของ CD Plus หรือ Enhance CD เป็นวิธีการแก้ปัญหาเมื่อผู้ผลิตซีดีรอมต่างก็มองเห็นว่าผู้ผลิตไดรฟ์ซีดีรอมปัจจุบันผลิตแต่ไดรฟ์ที่สามารถอ่านข้อมูลแบบ Multi-Session หมดแล้ว CD Extra จะประกอบด้วย 2 session session แรกเป็น CD-DA ที่สามารถมีได้ถึง 98 Track ประกอบด้วย Audio Track และ session ที่สองเป็น Data Track ซึ่งถูกเขียนในรูปแบบของ CD-ROM XA
เมื่อเอาแผ่นซีดีที่เป็น CD Extra มาใช้กับเครื่องเล่นซีดี session แรกที่เป็นส่วนของ Audio จะถูกนำมาเล่นแต่เครื่องเล่นซีดีจะไม่อ่านข้อมูลที่อยู่นอกเหนือจาก Session แรก ดังนั้นส่วนของ Data Track จึงไม่ถูกเล่นในเครื่องเล่นซีดี เมื่อนำเอาซีดีรอมดังกล่าวมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยปกติเครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่าน session สุดท้ายก่อน ดังนั้นตัวของ Data จึงถูกอ่านในครั้งแรก คุณลักษณะของ CD Extra ถูกระบุไว้ใน Blue book Standard อย่างไรก็ตามในข้อระบุของ Blue Book Standard ไม่ได้กำหนดว่าซีดีรอมที่จะถูกผลิตภายใต้มาตรฐานจำเป็นต้องเป็นซีดีรอมแบบ Multi - Session

ใบงานที่ 4

ส่วนประกอบต่างๆของ Harddisk

ส่วนประกอบของ Harddisk
Platter
เป็นส่วนที่เป็นแผ่นวงกลมที่เห็นดังรูปทำหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลที่ต้องการโดยจานแม่เหล็กจะถูกเคลือบด้วย Glass substrateโดยการบันทึกหรืออ่านข้อมูลจะใช้หัวอ่าน/เขียนข้อมูล


Spindle motor
จะเป็นส่วนที่ใช้ยึดแผ่นPlatterแต่ละอันและจะมี Spindle Motorเป็นตัวหมุนแผ่น Platter แต่ละอันด้วยความเร็วตามที่กำหนดไว้โดยมีหลายความเร็วที่ใช้อยู่โดยขึ้นอยู่ กับคุณสมบัติแต่ละรุ่นของ Harddiskโดยความเร็วที่ใช้อยู่ ตัวอย่างเช่น 7,200 รอบต่อวินาที 5,400 รอบต่อวินาที เป็นต้น
Actuator
คือแขนของหัวอ่าน/เขียนข้อมูลเป็นชิ้นส่วนที่ใช้ยึดติดกับหัวอ่าน/เขียนข้อมูลโดยตรง ปลายแขนของมันซึ่งคุณสมบัติการเข้าค้นหาและเข้าถึงข้อมูลของhaddisk(seek time) ก็จะวัดจากการส่วนนี้

Headคือส่วนที่ใช้ในการอ่าน/เขียนข้อมูล ทำหน้าที่ในการอ่านและเขียนข้อมูลในPlatter


ชนิดของหัวอ่าน/เขียนข้อมูล1. แบบแกนเฟอร์ไรต์(Ferrite Heads)จะใช้ใน harddiskรุ่นแรกๆโดยหัวอ่านจะมี เส้นทองแดงพันรอบแกนเฟอร์ไรต์2. แบบ Thin-film แบบนี้หัวอ่านที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีขนาดเล็กกว่าโดยใช้ เทคโนโลยีของIC นำมาสร้างหัวอ่านแบบเวเฟอร์ที่ใช้อยู่โดยใช้เส้นทองแดงเดินรอบๆแผ่น เวเฟอร์นั้นทำให้มีขนาดของหัวอ่าน/เขียนมีขนาดเล็กลงและยังมีข้อดีคือทำให้ความหนาแน่น ในการบันทึกข้อมูลของแผ่น Platterเพิ่มขึ้นในขนาดแผ่น Platter เท่าเดิม
Harddisk controller
circuit เป็นแผงวงจรที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของharddiskทั้งในส่วนของการบังคับการหมุนของ spindle motorการอ่านเขียนข้อมูลเป็นต้น


ชนิดของฮาร์ดดิสก์ (Hard Drive Disk)
Hard Disk แบ่งตามชนิดของการเชื่อมต่อ (Interface) ได้ 4 ชนิด คือ
1.แบบ IDE (Integrate Drive Electronics)
เป็น การเชื่อมต่อแบบเก่า โดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยที่สายแพ 1 เส้น สามารถเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัว ซึ่งในเมนบอร์ดจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้ว ดังนั้นจึงสามารถเชื่อมต่อฮาร์สดิสก์ได้สูงสุด 4 ตัว ส่วนความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกกะไบต์/วินาที และขนาดความจุแค่ 504 MB.
2.แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)
เป็น IDE ชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากแบบเก่า เชื่อมต่อด้วยสายแพขนาด 80 เส้น มีความความเร้วเร็วในการถ่ายโอนมูลเพิ่มขึ้นมาสูงถึง 133 เมกะไบต์/วินาที และมีขนาดความจุมากกว่า 504 MB.
วิธีการรับส่งข้อมูลแบ่งเป็น 2 โหมด คือ
1) โหมด PIO (Program Input Output) เป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านการประมวลผลของข้อมูลจาก Hard Disk เข้ามายัง CPU หรือส่งข้อมูลจาก CPU ไปยัง Hard Disk ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลใน Hard Disk บ่อยครั้ง หรือการทำงานพร้อมกันหลายๆ งาน (Multitasking Environment)
2) โหมด DMA (Direct Memory Access) การรับส่งข้อมุลชนิดนี้ จะอนุญาตให้อุปกรณ์ต่างๆ ส่งผ่านข้อมูลไปยังหน่วยความจำหลัก (RAM) ได้โดยตรงโดยที่ไม่ต้องไปติดต่อ CPU ก่อน ทำให้ CPU จัดการงานได้เร็วขึ้น
3.แบบ SCSI (Small Computer System Interface)
เป็น Interface ชนิดที่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ถึง 7-15 ชิ้น โดยการเชื่อมต่อแบบ SCSI นี้จะมีการ์ดสำหรับการควบคุมโดยเฉพาะ เรียกว่า “การ์ด SCSI” ซึ่งจะต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ โดยที่ SCSI 1 Board สามารถต่อได้ 2 Controller นั่นหมายความว่าจะสามารถต่ออุปกรณ์ได้สูงสุดถึง 30 ชิ้นเลยทีเดียว
ส่วนความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูงสุดจะอยู่ที่ 320 เมกะไบต์/วินาที และมีความเร็วในการหมุนของฮาร์สดิสก์ค่อนข้างสูงอยู่ที่ 10,000 และ 15,000 รอบต่อนาที ดังนั้นจึงเหมาะกับงานด้าน Server มากกว่า
4.แบบ Serial ATA
เป็น Interface ที่กำลังนิยมในปัจจุบัน ใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อแบบใหม่ที่เรียกว่า Serial ATA มีอัตราในการถ่ายโอนข้อมูลขั้นแรกสูงสุดถึง 150 เมกกะไบต์/วินาที

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แบบทดสอบ 1

  1. บิดาคอมพิวเตอร์คือใครและจงบอกผลงานที่ทำให้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์
- ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ทำการออกแบบเครื่อง Difference Engine โดยได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล แต่เครื่อง Difference Engine นี้สร้างไม่เสร็จ เพราะแบบเบจได้ค้นพบความไม่น่าเชื่อถือบางประการในการคำนวณ จึงล้มเลิก และไปคิดเครื่องใหม่ที่ชื่อว่า Analytical Engine ซึ่งประกอบด้วยหน่วยความจำ (Memory Unit) ที่สามารถจัดเก็บตัวเลขและนำไปคำนวณได้ ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องดังกล่าวยังสามารถพิมพ์ข้อมูลได้อัตโนมัติ สามารถนำเข้าข้อมูลด้วยบัตรเจาะรู (Punched Cards) และใช้ชุดคำสั่งในการควบคุม เครื่อง Analytical Engine นี้ยังมีฟังก์ชั่นหน้าที่หลายอย่างเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ทำให้ ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ถูกขนานนามให้เป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์ เป็นต้นมา

     2. จงเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประวัติคอมพิวเตอร์ต่อไปนี้ จากแรกสุดไปหลังสุด

....2.....) Slide Rule    ....6.....) UNIVAC
....1.....) Abacus....5.....) MARK I  
....3.....) Difference Engine    ....4.....) ABC Computer 


     3. จงอธิบายที่มาของเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์
- เจ เพรสเปอร์ เอ็คเคิร์ท (J. Presper Eckert) นักวิศวกรและ จอห์น มอชลี (John Mauchly) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ได้ช่วยกันสร้างเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1946 นับเป็น เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลก เรียกว่า ENIAC (Electronic Numerical Integrator and Calculator)


    4. โปรแกรมเมอร์คนแรกคือใคร
- Lady Augusta Ada Byron 

     5. คอมพิวเตอร์เครี่องแรกที่ สามารถเก็บโปรแกรมไว้ในเครื่องได้คือ
- EDVAC

    6. เครื่องประดิษฐ์ที่ชื่อว่า Difference Engine สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์อะไร
- ใช้คำนวณ และพิมพ์ตารางทางคณิศาสตร์

   7. สิ่งประดิษฐ์ใดที่ถือได้ว่าเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
- Analytical Engine

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ใบงานที่2

1.1 ศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
 - abort
หมายถึง : การไม่ทำงานของเครื่องโดยมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น
 - AC
หมายถึง : กระแสไฟฟ้าสลับ เป็นอักษรย่อของคำเต็มว่า alternating current

 - access
หมายถึง : เข้าถึง, บอกตำแหน่ง, การอ่านหน่วยความจำ,และทำให้พร้อมที่จะนำมาใช้งาน คำว่า access ใช้กับการเข้าสู่แผ่นดิสก์, แฟ้มข้อมูล, ระเบียนและเครือข่ายต่างๆ

 - accessory
หมายถึง : อุปกรณ์ประกอบเพิ่มเติมสำหรับคอมพิวเตอร์ เช่น โมเด็ม เมาส์ เป็นต้น บางครั้งเรียกว่า อุปกรณ์ประกอบภายนอก (peripheral) อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยทำหน้าที่ต่างๆ ซึ่ง อุปกรณ์เดิมของคอมพิวเตอร์ไม่มีและไม่ได้ทำหน้าที่เหล่านี้

 - active
หมายถึง : เป็นคำ adjective ขยายโปรแกรม , เอกสาร, เครื่องมือต่างๆ หรือส่วนของหน้าจอภาพที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ หมายถึงโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ เอกสารที่กำลังใช้อยู่ หรือเครื่องมือที่กำลังถูกใช้งาน เป็นต้น

 - actvie cell
หมายถึง : ในโปรแกรม spreadsheet เซลล์ซึ่งกำลังถูกใช้ทำกิจกรรม เซลที่กำลังถูกใช้จะมีแถบสว่างขึ้นบนหน้าจอภาพเซลแต่ละเซลจะถูกกำหนดโดย แถว (row) และคอลัมน์ (column) ดูเพิ่มเติม cell , row, column

 - active file
หมายถึง : แฟ้มข้อมูลที่กำลังใช้งาน

 - active program
หมายถึง : โปรแกรมที่กำลังใช้ควบคุมการทำงานของไมโครโพรเซสเซอร์

 - animation
หมายถึง : การสร้างภาพเคลื่อนไหวบนจอภาพ

 - array
หมายถึง : รายการของค่าของข้อมูลในการทำโปรแกรมทุกประเภท

 - asynchronous operation
หมายถึง : การทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันในช่วงเวลาที่พอเหมาะพอดี

 - background program
หมายถึง : โปรแกรมซึ่งสามารถทำงานหรือกำลังทำงานอยู่ในส่วนหลัง

 -binary digit
หมายถึง : ตัวเลขในระบบฐาน 2 ได้แก่ เลข 0 และ 1

 - boot
หมายถึง : การเริ่มต้นเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเริ่มต้นเปิดเครื่องใหม่หลังจากปิดไปแล้ว

 - cable connector
หมายถึง : ได้แก่ ตัวต่อที่อยู่ตรงส่วนปลายสายเคเบิลทั้งสองข้าง

 - cassette tape
หมายถึง : เทปแบบตลับ ที่เรามักเรียกว่า เทปคาสเส็ท

 - circuit
หมายถึง : วงจร

 - circuit board
หมายถึง : แผงวงจร

 - control
หมายถึง : การควบคุม การควบคุมคอมพิวเตอร์และการประมวลผลของมัน เพื่อให้มันสามารถทำงานได้สำเร็จที่ต้องการ

 - daisy-wheel printer
หมายถึง : เครื่องพิมพ์ของคอมพิวเตอร์แบบที่ใช้จานพิมพ์แบบดอกเดซี่

 - data bank
หมายถึง : ธนาคารข้อมูล, แหล่งสะสมข้อมูล

 - descender
หมายถึง : ส่วนของตัวอักษรที่อยู่ใต้เส้นฐาน (baseline 


 1.2 ศัพท์ด้านอินเตอร์เน็ต
 - ADDRESS
แปลตรงตัวหมายถึงที่อยู่ อาจหมายถึงที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต หรือ ที่อยู่ของอีเมล์

 - AUTHORING TOOL
เครื่องมือใช้ในการสร้างเอกสารจำพวก HTML เพื่อใช้สำหรับเผยแพร่ใน www

 - BACKBONE
การเชื่อมต่อข้อมูลด้วยความเร็วสูง สามารถเชื่อมต่อกับหลาย ๆ เครือข่าย


1.3  คำศัพท์เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง  ๆ หรือ อื่น ๆ
 - 3CCD
ในการถ่ายภาพ/ถ่ายวิดีโอจากกล้องดิจิตอลหรือกล้อง DV จะใช้เซนเซอร์ในการรับภาพการที่จะถ่ายภาพ/ถ่ายวิดีโอได้สีสันที่เป็นธรรมชาตินั้นจะต้องมีฟิลเตอร์ที่เป็นแม่สีของแสงได้แก่ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน วางไว้ที่หน้า CCD ที่เป็นเซนเซอร์รับภาพในกล้องดิจิตอล หรือกล้อง DV ทั่วไป จะมีการวางฟิลเตอร์สลับกัน แต่สำหรับ 3CCD ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่วางฟิลเตอร์ของแม่สีทั้ง 3 ซ้อนกันเหมือนกับการเคลือบชั้นความไวแสงของระบบฟิล์มสีทำให้ในแต่ละพิกเซลของเซนเซอร์รับภาพได้รับข้อมูลของสีครบทั้ง 3 สีซึ่งจะใหความคมชัดสูง สามารถเก็บรายละเอียดได้ดี และมีสีสันอิ่มตัวมีสัญญาณรบกวนต่ำ
  -3D Stereo
เป็นการพัฒนาเสียงเรียกเข้าของโทรศัพท์มือถือให้มีการสั่นตามจังหวะเสียงเพลงรวมถึงมือถือในบางรุ่นที่มีการเพิ่มไฟกระพริบให้สามารถกระพริบได้ตามจังหวะเสียงเพลงอีกด้วย
 - 3G (Third Generation)
การสื่อสารไร้สายยุคที่ 3 นับจากยุคที่ 1 คือยุคแอนะล็อกและยุคที่ 2 คือยุคดิจิตอล ส่วนยุคที่ 3 คือยุคการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงการพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดียและส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้นโดยอุปกรณ์ที่ใช้นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสานการนำเสนอข้อมูลและเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกันเช่น PDA, โทรศัพท์มือถือ , Walkman , กล้องถ่ายรูป , และอินเทอร์เน็ต

 - 3GPP (3rd Generation Partnership Project)
กลุ่มความร่วมมือระหว่างนักพัฒนาระบบมือถือบนโครงข่าย GSM, GPRS, EDGE, WCDMA เป็นหลัก เพื่อกำหนดมาตรฐานกลางในการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ 3G

 - 3GPP (3rd Generation Partnership Project2)
กลุ่มความร่วมมือระหว่างนักพัฒนาระบบมือถือในรูปแบบเดียวกันกับ 3GPP แต่เน้นที่การกำหนดมาตรฐานกลางให้มือถือเครือข่าย
CDMA2000 และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 - .3GP (third generation platform)
คือไฟล์ฟอร์มแมตชนิดหนึ่งที่ใช้บนมือถือสำหรับเก็บไฟล์วิดีโอและเสียงโดยฟอร์แมตนี้จะเก็บไฟล์วิดีโอที่มีการเข้ารหัสข้อมูลแบบ
MPEG 4 หรือ H.263 และไฟล์เสียงที่เข้ารหัสข้อมูลแบบ AMR-NB หรือ AAC-LC ค้นหารายละเอียดได้จาก www.3gpp.org

A2DP (Advanced Audio Distribution Profile)
คือ Profile อีกรูปแบบหนึ่งของเทคโนโลยี Bluetooth ที่พัฒนาและออกแบบมาเพื่อส่งข้อมูลเสียงในแบบสเตอริโอ ดังนั้นหากหูฟัง Bluetooth รุ่นใดมีเขียนบอกว่ารองรับ A2DP ก็หมายความว่าหูฟัง Bluetooth นั้นสามารถรองรับการฟังเพลงแบบสเตอริโอ ซึ่งหูฟังวปกติเสียงจะออกมาเป็นเสียงโมโนซึ่งทำให้เสียงเหมือนกันทั้งสองข้างไม่มีการแยกเสียงใดๆทำให้มิติอรรถรสในการฟังเพลงหมดไปอย่างชัดเจน (ดูที่Bluetooth)

 - AAC (Advanced Audio Coding)
เป็นรูปแบบการบีบอัดเสียง โดยใช้มาตรฐาน MPEG-2 ถ้าเปรียบเทียบกับ MP3 แล้ว ACC จะให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า และมีขนาดไฟล์
ที่เล็กกว่า MP3 ราว 30 เปอร์เซ็นต์ หรือ ไฟล์เพลงอีกประเภทที่มีระบบเสียงดีขึ้น เพราะอัดข้อมูลเพลงให้วิ่งในอัตรา 96 กิโลบิตต่อวินาทีขณะที่ไฟล์ MP3 อัดที่ 128 กิโลบิตต่อวินาที AAC เป็นไฟล์แบบที่แอปเปิลจำหน่ายผ่านร้านไอจูนส์ (iTunes) โดยมีการผนวกเทคโนโลยี DRM เข้าไปในไฟล์ด้วย แอปเปิลเรียกโปรแกรม DRM ว่า FairPlay มีการกำหนดว่าเพลงที่ซื้อเพลงละ 99 เซ็น และอัลบั้มละ 9.95 ดอลลาร์สามารถเล่นได้บนคอมพิวเตอร์ห้าเครื่อง ที่มี iTunes software และสามารถบันทึกหรือ burned ลงบนซีดีได้เจ็ดครั้ง แต่ถ้าจะเปิดบนเครื่องเล่นเพลงแบบมือถือ ไฟล์แบบ AAC ที่ซื้อมาจากเว็บของแอปเปิลนี้เล่นได้แต่บนเครื่อง iPod เท่านั้นส่วนไฟล์เสียงที่เล่นบนมือถือจากทางโนเกียจะเป็นไฟล์เสียงคนละแบบกับของทางแอปเปิลแม้ว่าจะมีเป็นนามสกุลแบบเดียวกันก็ตาม

 - accessory
อุปกรณ์เสริม, อุปกรณ์ประกอบภายนอกหรืออุปกรณ์เพิ่มเติมสำหรับคอมพิวเตอร์ ซึ่งช่วยทำหน้าที่ต่าง ๆเช่น เม้าส์ โมเด็ม เป็นต้น

account
แอกเคานต์, บัญชีผู้ใช้ซึ่งใช้เก็บข้อมูลประจำตัวของผู้ใช้และเจ้าของบัญชีจะมีสิทธิ์ใช้บริการได้ตามที่กำหนด, บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตผู้ดูแลเครื่องจะจัดเตรียมบัญชีให้กับผู้ใช้ระบบ ซึ่งประกอบด้วยชื่อบัญชี (user name) รหัสผ่าน (password) และเนื้อที่ดิสก์สำหรับใช้เป็นที่เก็บข้อมูล

 - Acrobat
ฟอร์แมตของเอกสารรูปแบบหนึ่งของบริษัท Adobe เอกสารฟอร์แมตอะโครแบทนี้นิยมใช้ในระบบ WWW แฟ้มที่เก็บในฟอร์แมตนี้จะมีนามสกุล . pdf ผู้ใช้โปรแกรมเบราเซอร์สามารถอ่านเอกสารแบบอะโครแบทได้ด้วยโปรแกรม Adobe Acrobat (ดูที่Adobe Acrobat Reader)

 - active matrix
จอแสดงผลแบบ LCD ของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบวางตัก ที่ใช้ได้ดีกว่า และแพงกว่าแบบ passive matrix จอแสดงผลแบบนี้มีทรานซิสเตอร์แยกไปควบคุมจุดต่าง ๆบนจอภาพเพื่อให้มีคุณสมบัติดังนี้คือ มีสีตัดกันอย่างเด่นชัด มองภาพในมุมกว้างได้มีสีชัดเจน เป็นจอภาพที่มีอัตราการแสดงผลซ้ำได้เร็ว และไม่แสดงผลเป็นเส้น ๆหรือเงาที่มักเป็นกันในจอภาพที่ใช้เทคโนโลยี LCD ราคาถูก คำนี้มักใช้คำว่า active matrix screen (ดูที่passive matrix)

 - Active Server Page
ใช้คำย่อว่า ASP, เว็บเพจที่บรรจุโค้ดโปรแกรมซึ่งเขียนด้วย VBScript หรือ Jscript พัฒนาโดยไมโครซอฟท์, เป็นสคริปต์ที่ทำงานอยู่บนเซิร์ฟเวอร์, ASP นั้นมีหัวใจอยู่ที่ออบเจ็กต์ หรือคอมโพเนนต์ ซึ่งมีทั้งออบเจ็กต์มาตรฐานของ IIS (Internet Information Server) ปัจจุบันเริ่มมีการใช้ ASP แทน CGI เพิ่มขึ้น

 - active window
ช่องหน้าต่างใช้งาน, ในระบบปฎิบัติการหรือโปรแกรมอื่นๆที่แสดงช่องหน้าต่างบนจอภาพได้หลายๆ ช่องพร้อมกันมีช่องหน้าต่างบนจอภาพที่ใช้งานอยู่ขณะนั้นคือ

add-on program
โปรแกรมที่ทำงานร่วมหรือช่วยเพิ่มความสามารถให้กับโปรแกรมอื่น

 - address
แอดเดรส, ตำแหน่งที่อยู่, การอ้างหรือจัดการกับตำแหน่งต่าง ๆ บนอุปกรณ์เก็บข้อมูล, ตำแหน่งในหน่วยความจำหรือดิสก์ซึ่งมีข้อมูลเก็บอยู่โดยที่หน่วยความจำจะมีตำแหน่งกำกับทุกไบต์ขณะที่บนดิสก์จะมีตำแหน่งกับกับทุกเซกเตอร์

 - Address Book
ไฟล์ที่เก็บรวบรวมรายชื่ออีเมล์แอดเดรสของผู้ที่คุณติดต่ออยู่เสมอ สามารถเพิ่มรายชื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อหรืออีเมล์แอดเดรสใน Address Book ได้ปัจจุบันมีโปรแกรมอีเมล์หลายตัวที่มีคุณลักษณะนี้บางโปรแกรมเมื่อคุณพิมพ์ชื่อผู้รับลงในอีเมล์ฉบับใหม่มันสามารถที่จะปรากฏชื่อและใส่อีเมล์แอดเดรสให้คุณได้ทันที เช่น Outlook Express

 - admin
ย่อมาจาก administrator, ผู้ดูแลเครือข่าย, ชื่อบัญชีสำหรับผู้ปฏิบัติงาน เป็นผู้ดูแลเครื่อง (system administrator)

Adobe Acrobat Reader
ผลิตโดยบริษัท Adobe System เป็นโปรแกรมที่มีเครื่องสำหรับการสร้างและเปิดดูเอกสาร ซึ่งเอกสารที่สร้างจาก Acrobat จะอยู่ในรูปแบบไฟล์ PDF (Portable Document Format) เอกสารที่อยู่ในฟอร์แมตนี้ สามารถเปิดอ่านได้จากคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรม Acrobat Reader โดยที่เนื้อหา รูปแบบ ตัวอักษร และภาพจะเหมือนกับต้นฉบับสามารถส่งผ่านอีเมล์หรือนำเสนอข้อมูลบนเว็บเพจได้เช่นเดียวกับเอกสารทั่วๆ ไปทั้งบนระบบปฎิบัติการวินโดว์ แมคอินทอช และยูนิกซ์


 - BRIDGE
เป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่ง ที่ใช้สำหรับส่งต่อข้อมูลระหว่างสองระบบ หรือเครือข่าย ทำหน้าที่ส่งผ่าน package เท่านั้น